การวิเคราะห์หลักสูตร
ในการวิเคราะห์หลักสูตร หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่ สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็น การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของ เนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
เป็น การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของ เนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
“การ สอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน
การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
สื่อการเรียนรู้ หรือ สื่อการเรียนการสอน เป็นตัวกลางให้ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็น และเจตคติ ไปสู่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และวิธีการ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
. ก่อน นำไปใช้ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง ที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
การ แนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของครู เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
หลักการเบื้องต้นของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน
การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอน
กล่าว โดยสรุปได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน ชั้นเรียน โดยครูผู้สอนในชั้นเรียนนั้นๆ เป็นการดำเนินการที่มีการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนกลับ ซึ่งเป็นการวิจัยที่ทำเร็ว นำผลไปใช้ได้ทันที นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ ผู้เรียนอย่างแท้จริง
การ นำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข
ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พุทธประวัติ เวลา 6 ชั่วโมง
วันที่............... เดือน .................................................... พ.ศ. .........................................
สาระสำคัญ
สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาลมีระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนคติความเชื่อทางศาสนา เป็นของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อในเรื่องวรรณะที่ชาวชมพูทวีปยึดมั่นอย่างเคร่งครัดจนกลายเป็นเครื่องกดขี่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ จึงเป็นผลให้เกิดพระพุทธศาสนาขึ้น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายพุทธประวัติได้
2. วิเคราะห์พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าได้อย่างเป็นกระบวนการ
เนื้อหาสาระ
1. สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติ
1.1 ประสูติ
1.2 เทวทูต 4
1.3 การแสวงหาความรู้
1.4 บำเพ็ญทุกรกิริยา
กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 3 ประสูติ เวลา 2 ชั่วโมง
ขั้นนำ 1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยนำผู้เรียนนั่งแยกเป็นกลุ่มนอกห้องเรียน แล้วนั่งสมาธิ 3-5 นาทีก่อนเรียน
2. ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน
3. ผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
4. ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียนโดยการสนทนาประเด็นต่าง ๆ กับผู้เรียน
ขั้นสอน 5. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลาง และอ่อน
6. ผู้สอนเปิด ซีดีสาระพระพุทธศาสนา ม.1 เรื่องพุทธประวัติให้ผู้เรียนดู
7.ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสนทนาถาม-ตอบ เกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้ดูหลังจากนั้นให้สรุปเนื้อหาเป็นแผนภาพ
8. ผู้สอนสุ่มตัวแทนกลุ่มมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 2-3 กลุ่ม จากนั้นช่วยกันเฉลยคำตอบของใบกิจกรรม
ขั้นสรุป 10. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง การประสู ติ
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 4 เทวทูต 4 เวลา 1 ชั่วโมง
ขั้นนำ 1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนสวดมนต์ไหว้พระ และทำสมาธิ 3-5 นาที
2. ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเพื่อทบทวนความรู้เรื่อง เทวทูต 4
ขั้นสอน3.แจกใบความรู้เรื่อง เทวทูต 4 ให้ผู้เรียนศึกษา 5 นาที
4. ผู้สอนให้ผู้เรียนตั้งคำถาม หลังจากนั้นแลกเปลี่ยนกันถามตอบ
ขั้นสรุป5. ผู้สอนนำสื่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา(CAI)ให้ผู้เรียนศึกษาเป็นการสรุปเนื้อหา
6. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำแผนที่ความคิดเป็นการสรุปเนื้อหาอีกรอบ
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 5 การแสวงหาความรู้ เวลา 1 ชั่วโมง
ขั้นนำ 1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการให้ผู้เรียนจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ไหว้พระสวดมนต์ และทำสมาธิ 3-5 นาที
2. ผู้สอนนำภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับภาพตามประเด็นดังนี้
2.1 ภาพนี้เป็นภาพอะไร
2.2 ภาพนี้เกิดขี้นที่ไหน
2.3 ภาพนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อพระพุทธศาสนา
ขั้นสอน 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรมแล้วส่งผลงาน
4. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผู้สอนชมเชยผู้ที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี
ขั้นสรุป 5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง เทวทูต 4
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 6 บำเพ็ญทุกรกิริยา เวลา 2 ชั่วโมง
ขั้นนำ 1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการให้ผู้เรียนจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ไหว้พระสวดมนต์ และทำสมาธิ 3-5 นาที
2. ผู้สอนนำภาพพระพุทธเจ้าตอนบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้วสนทนาเกี่ยวกับภาพตามประเด็นดังนี้
2.1 ภาพนี้เป็นภาพอะไร
2.2 ภาพนี้เกิดขี้นที่ไหน
2.3 ภาพนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อพระพุทธศาสนา
ขั้นสอน 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรมแล้วส่งผลงาน
4. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผู้สอนชมเชยผู้ที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี
ขั้นสรุป 5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง บำเพ็ญทุกรกิริยา
6. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
7. ผู้เรียนทำแบบทดสอบตอนที่ 2
สื่อการเรียนรู้
1. ภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์/บำเพ็ญทุกรกิริยา
2. CAI สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ม.1
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีวัด
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม/รายบุคคล
- ตรวจกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล
- ตรวจผลงานกลุ่ม
- ตรวจแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
- ตรวจแบบทดสอบตอนที่ 2
2.เครื่องมือวัด
- แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม/รายบุคคล
- แบบประเมินกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล
- แบบประเมินผลงานกลุ่ม
- แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
- แบบทดสอบตอนที่ 2
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
1. ให้ผู้เรียนช่วยกันทำแผ่นพับเกี่ยวกับการประสูติของพระพุทธเจ้า
บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
2.ปัญหาอุปสรรค
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
ลงชื่อ ............................................................
ผู้สอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น