วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินการใช้บล๊อก

1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
          การทำงานส่งอาจารย์ทางบล็อกนั้น ทำให้เรามีความคิดที่หลากหลาย และยังเป็นความคิดของตัวเองอีกด้วย และยังจะช่วยให้เรามีความรู้เรื่องบล็อก สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์เวลาที่ออกฝึกสอนได
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
             ในการเรียนรู้เรื่องบล็อกนั้นได้ความรู้มากมาย ได้แก่
1.สามารถที่จะสร้างบล็อกได้
2.สามารถที่จะทำ สไลด์โชว์ได้
3.สามารถที่จะใส่เพลงได้
4.สามารถลิงค์ข้อมูลได้
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
             มีความสะดวกมาก และมีประโยชน์มากสามารถที่จะนำเสนอได้หลายวิธีการ และเนื้อหาในบล็อกก็น่าสนใจ น่าอ่าน และที่สำคัญอย่างยิ่งใน การทำบล็อก และสามารถนำความรู้ที่อาจารย์ได้สอนนั้น ไปประกอบอาชีพให้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
    4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความ            คิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว (เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
                มากที่สุด

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้

1. Classroom Managemen
ความหมาย   ความสามรถในการจัดการห้องเรียนหรือการจัดการในชั้นเรียน
2. Happiness Classroom
ความหมาย  ห้องเรียนแห่งความสุข
3. Life-long Education
ความหมาย   การศึกษาตลอดชีวิต
4. formal Education
ความหมาย การศึกษานอกโรงเรียน
5. non-formal education
ความหมาย   การศึกษานอกระบบ
6. E-learning
ความหมาย   การเรียนแบบผ่านระบบทางไกล
7. graded
ความหมาย   ให้คะแนน
8. Policy education
ความหมาย   นโยบายการศึกษา
9. Vision 
ความหมาย   วิสัยทัศน์
10. Mission 
ความหมาย   หน้าที่
11. Goals 
ความหมาย   เป้าหมาย
12. Objective 
ความหมาย   วัตถุประสงค์
13. backward design 
ความหมาย   ย้อนกลับการออกแบบ
14. Effectiveness 
ความหมาย   ประสิทธิผล
15. Efficiency 
ความหมาย   ประสิทธิภาพ
16. Economy
ความหมาย  ระบบการจัดการ , เศรษฐกิจ
17. Equity
ความหมาย   ความเสมอภาค
18. Empowerment
ความหมาย   การเรียนรู้ที่ทันสมัย
19. Engagement 
ความหมาย   การเรียนแบบใหม่
20. project 
ความหมาย   โครงการ
21. activies
ความหมาย   ความอดทน
22. Leadership
            ความหมาย   ความเป็นผู้นำ
23. leaders
ความหมาย    ผู้นำ
24. Follows
ความหมาย    ดังต่อไปนี้
25. Situations
ความหมาย   สถานการณ์
26. Self awareness
ความหมาย   ความตระหนักในตนเอง
27. Communication
ความหมาย    การสื่อสาร
28. Assertiveness 
ความหมาย   การเริ่มเรียน
29. Time management
ความหมาย   การบริหารเวลา
30. POSDCoRB
ความหมาย   โปรแกรมชนิดหนึ่ง
31. Formal Leaders
ความหมาย    ผู้นำอย่างเป็นทางการ
32. Informal Leaders
ความหมาย    ผู้นำทางการ
33. Environment
ความหมาย    การทำความเข้าใจ
34. Globalization
ความหมาย   โลกาภิวัตน์
35. Competency
ความหมาย
36. Organization Cultural  
ความหมาย   วัฒนธรรมองค์กร
37. Individual Behavior 
ความหมาย   พฤติกรรมของบุคคล
38. Group Behavior
ความหมาย    พฤติกรรมกลุ่ม
39. Organization Behavior  
ความหมาย   พฤติกรรมองค์การ
40. Team working
ความหมาย    การทำงานเป็นทีม
41. Six Thinking Hats
ความหมาย   การคิดแบบหมวก  6  ใบ
42. Classroom Action Research 
ความหมาย   วิจัยในชั้นเรียน

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 12


หาดทรายแก้ว  
            จากการที่ข้าพเจ้าได้ไปเที่ยวหาดทรายแก้วอำเภอ ท่าศาลากับเพื่อนๆก็รู้สึกประทับใจในความสวยงามของหาดทรายแก้วมากจึงได้เก็บรวมรวมภาพมาเพื่อที่จะเก็บไว้เป็นที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้เดินทางไปหาดทรายแก้วระหว่างการเดินทางก็ได้สัมผัสบรรยากาศที่ล้อมรอบไปด้วยทุ่งนา ป่า  และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจกับผู้ที่มาเยี่ยมชม
                                          ภาพระหว่างการเดินทาง
  

             
             
                               หาดทรายแก้ว
            
จุดชมวิว
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ



วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 15

  1.Classroom mangemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
          Classroom management  คือ  ความสามรถในการจัดการห้องเรียนหรือการจัดการในชั้นเรียน  เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ  การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่เหมาะสมเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน จะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเสริมสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา แก่ผู้เรียน  ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนด้วย
       2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
            มาตรฐานวิชาชีพครูเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพ   มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู  คือ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  และมาตรฐานการปฏิบัติตน
    3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
             ควรจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียนตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน   นอกจากนี้ห้องเรียนควรมีบรรยากาศสดใส สะอาด สว่าง ปลอดโปรงกว้างขวางเหมาะสมในการเรียน   ระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และควรมีการเรียนการเรียนการสอนแบบ ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
   4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
                จัดโรงเรียนให้สะอาดร่มรื่น  เรียบง่าย  มีชีวิตชีวา  วัสดุอาคารสถานที่ได้รับการดูแล  มีความปลอดภัย  มีการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี   เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน  เพื่อให้นักเรียนได้เห็นแบบอย่างและสิ่งที่ดีจะได้ซึมซับกับสิ่งเหล่านั้น  และอยากที่จะมาโรงเรียนอยากเข้าชั้นเรียนมากขึ้น
    5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
        คุณภาพผู้เรียนคือการที่ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขจิตแจ่มใสเป็นผู้ที่มีความสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก้าวไกลสู่สากล และมีความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์  การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ต้องอาศัยการดำเนินการพัฒนาในกระบวนการต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันทั้งกระบวนการด้านหลักสูตร การวัดและการประเมินผล  เช่น  การจัดกิจกรรมหรือโครงการในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในด้านต่างๆและการมีจิตสาธารณะ
   6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
       การที่จะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนนั้นควรที่จะสอดแทรกไว้ในกิจกรรมของวิชาต่างๆเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนและปฏิบัติได้หรือได้ซึมซับคุณธรรมจริยธรรมเหล่านั้น  เช่น  การสอดแทรกโดยใช้สื่อการเรียนรู้ แล้วว่าสื่อการเรียนรู้ดังกล่าวมีเนื้อหาสอดคล้องกับรายวิชาและสามารถสร้างจิตสำนึกหรือปลุกเร้าให้นักศึกษาได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรมเหล่านั้นที่ต้องการให้เกิดกับตัวผู้เรียนเช่นการมีจิตสาธารณะ การมีจิตใจโอบอ้อมอารีความมีเมตตาจิตให้กับผู้อื่นในสังคมต่อไป

กิจกรรมที่ 14

การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร? ยกตัวอย่างประกอบ 
        จากวิธีการจดบันทึกทั่วไปลงในกระดาษไปจนจบบรรทัดแล้วขึ้นบรรทัดใหม่ ก็ให้ใช้การวาดภาพแทนประโยคยาว ๆ โดยการถ่ายทอดความคิด หรือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงในกระดาษ โดยการใช้ ภาพ สี เส้น และการโยงใยความรู้ที่มี  แทนการจดแบบเดิม
       แผนที่ความคิดหรือ Mind Mapping  จะช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
                          ตัวอย่างเช่น  นำมาใช้ในการเรียนการสอนของรายวิชาต่างๆ

วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
       หมวก 6 ใบ เป็นเทคนิคการคิดอย่างมีระบบ  มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก การคิดเป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด
         การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้