วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)         
           ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
       วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
     แนวความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ
        วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ เช่น (การลาออก) ทุเลาเบาลงและงานจะดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อวัฒนธรรมองค์การมีบทบาทภายในหน่วยงานหลายประการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจควบคู่กันไป
       การพัฒนาองค์การ 
การพัฒนาองค์การ  เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ
 กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
     กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
     1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง    
 2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ    
            แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
 เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิ ทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

            อ้างอิง  http://www.expert2you.com/view_question2.php
       http://202.29.22.164learning/cd-1595/SOC07/topic4/linkfile/print5.htm
         อ้างอิง : วรพงศ์  มหาโพธิ์. 2547. การพัฒนาองค์การ. [Online]./Available

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

สรุปเรื่องการจัดการในชั้นเรียน
         การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในด้านเนื้อหาและมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้นต้องมีพัฒนาการทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องกัน         การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
     
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
            1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
                2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
                3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
                4.  การจัดการในชั้นเรียนสอนให้นักเรียนมีวินัยในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
        ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนเพื่อกระตุ้นการส่งเสริมในชั้นเรียนรวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครู
            1.  ครูที่มีเผด็จการ   จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนโดยถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
                2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  อ่อนโยน
                3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยจะต้องพร้อมที่จะรับฟังปัญหาและยอมรับฟังความคิดเห็น และความต้องการของนักเรียนในการจะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ
      นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
     เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปได้ด้วยดี หมายถึง ครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียนให้อิสระแก่นักเรียนในการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียนให้มีการเรียนการสอนทีดีขึ้นซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีเพื่อเป็นการสร้าง แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราสามารถนำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้สอนกับนักเรียนหรือนักศึกษาและใช้ในชีวิตประจำวันได้


กิจกรรมที่6

        สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประยุกต์ใช้และประกอบ วิชาชีพครูได้อย่างไร
        ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ  การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยควรมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
         สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ
     มาตรฐานวิชาชีพ คือ เป็นแนวทางปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อให้เกิดความมั่นใจในวิชาชีพของผู้ปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพสูงสุดเพราะผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชนได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย    
          มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพสูงสุด
.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
             มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
             มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
พื้นฐานและแนวคิด
         เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
- เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
- สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
นำไปใช้ในการประยุกต์ใช้และประกอบวิชาชีพครูได้
         การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะทางด้านต่างๆ คือ ระดับการศึกษา เช่น ระดับอนุบาลศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษา ระดับการอาชีวศึกษา และระดับการอุดมศึกษาเป็นต้น ในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาคนให้มีคุณภาพ 







วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่5

สิ่งที่ได้จากบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้
    บุคคลที่เป็นต้นแบบไม่ ป็นจะต้องมาจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่บุคคลที่จะเป็นต้นแบบนี้ได้สามารถทำให้ดูทำให้เห็น  เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ และทำให้ศิษย์เกิดความกระตุ้นในการเรียนรู้ และมีความคิดสร้างสรรค์  ที่จะแสดงถึงความเป็นครูต้นแบบ มากยิ่งขึ้น ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงกว้างต่อไปผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
   การนำไปในการพัฒนาตนเอง                       
สามารถนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
สามารถนำมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ในภายภาคหน้า
สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฎิบัติและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเป็นครูที่ดีได้

เเนะนำตัวเอง

ชื่อ          นางสาวอาดีนา    โสตา
ชื่อเล่น                     นา
วันเดือนปี     27/07/2532
ที่อยู่         335.2  ตำบลละงู   อำเภอละงู   จังหวัดสตูล
การศึกษา   .6จบจากโรงเรียนบ้านปากบาง
                   .6 จบจากโรงเรียนดารุลมาอาเรฟ
ปรัชญา       สู้สุดฤทธิ์  พิชิตปริญญา
ปัจจุบัน      มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช   

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่4

สรุป บทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
      ผู้นำ ต้องเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและจะต้องเป็นผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง และทัศนคติ การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ และเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ เพราะการบริหารงานนั้นอาศัยการทำงานเป็นทีม  เป็นระบบที่ประกอบด้วยจิตใจ จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ที่มิอาจถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด
   ดั้งนั้นผู้นำในด้านของดิฉัน จะต้องเป็นผู้ที่ให้มากกว่าผู้รับ รู้จักการทุมเท  การเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
   สิ่งสำคัญที่ผู้นำขาดไม่ได้
เพื่อให้เกิดความชอบและคามเชื่อในตัวบุคคลนั้นๆเพื่อที่จะได้มาซึ่งความสำเร็จ

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3


ดร.สมคิด สร้อยน้ำ
รองศาสตราจารย์ ระดับ 9
ผู้ช่วยอธิการบดี คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
ประธานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
โทรศัพท์ : 0-4224-8680
โทรสาร : 0-4224-8680
อีเมล : somkid@udru.ac.thThis e-mail address is being protected from spambots, you need JavaScript enabled to view it
การศึกษา :
กศ.บ (เคมี)  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเขน (2520)
ศศ.ม (การสอนวิทยาศาสตร์)  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2523)
ศศ.ด. (บริหารการศึกษา)  มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2547)
Postdoctoral Residency in Educational Administration  Washington State University at Pullman, USA (2549)
วุฒิการศึกษาอื่น :
·       Certificate, Learning Management, UCLA, USA (2539)
·       Awards This Certificate of Successful Completion of a Special Topics Graduate Course in Educational Administration, Southwest Minnesota State University, USA (2551)



ประวัติการทำงาน :
·       อาจารย์ประจำ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยครูสุรินทร์ (2519)
·       คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2542-2544)
·       ประธานสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2542-2548)
·       ประธานโครงการเพิ่มสมรรถภาพการสอนของอาจารย์สถาบันฝึกหัดครู สปป.ลาว (2543)
·       เลขานุการสำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2548-2551)
·       ประธานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ระดับปริญญาโท-เอก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2549-ปัจจุบัน)
·       ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2552-ปัจจุบัน)
 สาขางานวิจัย/สาขาที่ชำนาญ :
·       การบริหารการศึกษา
·       หลักสูตรและการสอน
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ :
Sanrattana, W.,Parkay, F.W., Phanphruk, S. Sroinam, and others. (2003). Beginning Primary – School Principals in Thailand; A National Survey of their Priorities and Concerns. Presented at the Annual Meeting of American Education Research Association (AERA), Chicago, U.S.A. April 21, 2003.
Sanrattana W., Phaphruk S., Parkay F.W., Sroinam S. and others. (2003). The Induction of Beginning Primary – School Principals in Thailand. Presented at the Annual Meeting of American Education Research Association (AERA), Chicago, U.S.A. April 21, 2003.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2547). การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(1): 41-42.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2546). ภาวะผู้นำวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2542). หลักการสอน. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2542). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2532). การมัธยมศึกษา. สุรินทร์: คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสุรินทร์.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2532). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. สุรินทร์: คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสุรินทร์.
ผลงานทางวิชาการ :
·       งานวิจัย
การติดตามผลบัณฑิตครุศาสตร์สถาบันราชภัฏสุรินทร์ (2532)
สภาพปัญหาการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ (2532)
ปัญหาการอบรมครูวิทยาศาสตร์ ตามโครงการพัฒนาสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2524)
การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา (2547)
·       หนังสือ
·       เอกสารประกอบการสอน
การมัธยมศึกษา
การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
หลักการสอน
พฤติกรรมการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณืชีวิต 2
ภาวะผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร
ผู้บริหารในฐานะผู้นำ
ชุดฝึกอบรมครูเกษตรกรรม
·       บทความ
การบริการวิชาการ :
·       อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
·       ผู้ทรงคุณวุฒิ
ตรวจผลงานทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ตรวจผลงานทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ตรวจผลงานทางวิชาการของผู้บริหารเชี่ยวชาญ เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1
ตรวจผลงานทางวิชาการของครูทั่วประเทศ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

  
แนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เป็นแนวทาง ในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ


(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
(2) กลุ่มเกสตัลท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม (Gestalt, Field or Cognitive theories)
        เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมีความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or Social learning theory)
        เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพและปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม


ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
        กลุ่มนักจิตวิทยาประเทศเยอรมันนี  เรียกว่านักจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychologist) ประกอบด้วย  โคท์เลอร์ (Kohler) คอฟคา (Koffka) และแวร์ไทมเมอร์ (Wertheimer) เริ่มใน ค.ศ.1912 ได้อธิบายความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวมว่า ส่วนรวมมากกว่าผลรวมของส่วนย่อยโดยมีแนวคิดหลักว่า "ส่วนรวม (The whole) มีค่ามากกว่าผลรวม (the sum)ของส่วนย่อย (parts)" การเรียนรู้ล้วนเริ่มต้นจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมมาให้ผู้เรียนรับรู้เสียก่อน แล้วจึงแยกแยะให้เรียนรู้ในส่วนย่อย


อ้างอิง
Jackson, Sarah.  "Demographic and Social Trends : Implications for the
 Information Profession : Part 2." Library Management 11, 6 (1990): 4- 17.  [Online]. Abstract from: BRS File: LISA Item: 91-3621