วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3


ดร.สมคิด สร้อยน้ำ
รองศาสตราจารย์ ระดับ 9
ผู้ช่วยอธิการบดี คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
ประธานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
โทรศัพท์ : 0-4224-8680
โทรสาร : 0-4224-8680
อีเมล : somkid@udru.ac.thThis e-mail address is being protected from spambots, you need JavaScript enabled to view it
การศึกษา :
กศ.บ (เคมี)  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเขน (2520)
ศศ.ม (การสอนวิทยาศาสตร์)  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2523)
ศศ.ด. (บริหารการศึกษา)  มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2547)
Postdoctoral Residency in Educational Administration  Washington State University at Pullman, USA (2549)
วุฒิการศึกษาอื่น :
·       Certificate, Learning Management, UCLA, USA (2539)
·       Awards This Certificate of Successful Completion of a Special Topics Graduate Course in Educational Administration, Southwest Minnesota State University, USA (2551)



ประวัติการทำงาน :
·       อาจารย์ประจำ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยครูสุรินทร์ (2519)
·       คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2542-2544)
·       ประธานสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2542-2548)
·       ประธานโครงการเพิ่มสมรรถภาพการสอนของอาจารย์สถาบันฝึกหัดครู สปป.ลาว (2543)
·       เลขานุการสำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2548-2551)
·       ประธานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ระดับปริญญาโท-เอก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2549-ปัจจุบัน)
·       ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (2552-ปัจจุบัน)
 สาขางานวิจัย/สาขาที่ชำนาญ :
·       การบริหารการศึกษา
·       หลักสูตรและการสอน
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ :
Sanrattana, W.,Parkay, F.W., Phanphruk, S. Sroinam, and others. (2003). Beginning Primary – School Principals in Thailand; A National Survey of their Priorities and Concerns. Presented at the Annual Meeting of American Education Research Association (AERA), Chicago, U.S.A. April 21, 2003.
Sanrattana W., Phaphruk S., Parkay F.W., Sroinam S. and others. (2003). The Induction of Beginning Primary – School Principals in Thailand. Presented at the Annual Meeting of American Education Research Association (AERA), Chicago, U.S.A. April 21, 2003.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2547). การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(1): 41-42.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2546). ภาวะผู้นำวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2542). หลักการสอน. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2542). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2532). การมัธยมศึกษา. สุรินทร์: คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสุรินทร์.
สมคิด  สร้อยน้ำ. (2532). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. สุรินทร์: คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสุรินทร์.
ผลงานทางวิชาการ :
·       งานวิจัย
การติดตามผลบัณฑิตครุศาสตร์สถาบันราชภัฏสุรินทร์ (2532)
สภาพปัญหาการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ (2532)
ปัญหาการอบรมครูวิทยาศาสตร์ ตามโครงการพัฒนาสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2524)
การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา (2547)
·       หนังสือ
·       เอกสารประกอบการสอน
การมัธยมศึกษา
การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
หลักการสอน
พฤติกรรมการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณืชีวิต 2
ภาวะผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร
ผู้บริหารในฐานะผู้นำ
ชุดฝึกอบรมครูเกษตรกรรม
·       บทความ
การบริการวิชาการ :
·       อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
·       ผู้ทรงคุณวุฒิ
ตรวจผลงานทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ตรวจผลงานทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ตรวจผลงานทางวิชาการของผู้บริหารเชี่ยวชาญ เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1
ตรวจผลงานทางวิชาการของครูทั่วประเทศ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

  
แนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เป็นแนวทาง ในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ


(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
(2) กลุ่มเกสตัลท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม (Gestalt, Field or Cognitive theories)
        เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมีความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or Social learning theory)
        เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพและปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม


ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
        กลุ่มนักจิตวิทยาประเทศเยอรมันนี  เรียกว่านักจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychologist) ประกอบด้วย  โคท์เลอร์ (Kohler) คอฟคา (Koffka) และแวร์ไทมเมอร์ (Wertheimer) เริ่มใน ค.ศ.1912 ได้อธิบายความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวมว่า ส่วนรวมมากกว่าผลรวมของส่วนย่อยโดยมีแนวคิดหลักว่า "ส่วนรวม (The whole) มีค่ามากกว่าผลรวม (the sum)ของส่วนย่อย (parts)" การเรียนรู้ล้วนเริ่มต้นจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมมาให้ผู้เรียนรับรู้เสียก่อน แล้วจึงแยกแยะให้เรียนรู้ในส่วนย่อย


อ้างอิง
Jackson, Sarah.  "Demographic and Social Trends : Implications for the
 Information Profession : Part 2." Library Management 11, 6 (1990): 4- 17.  [Online]. Abstract from: BRS File: LISA Item: 91-3621

กิจกรรมที่ 1

การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
การบริหารการศึกษา   หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่